วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดระเบียบของต้นพืช

การจัดระเบียบของต้นพืช

พืชมีท่อลำเลียง ประกอบด้วยระบบราก (Root System) และระบบยอด
(Shoot system) ระบบรากช่วยยึดต้นพืชไว้กับดินและซอนไซทะลุลงดิน เพื่อดูดซึมน้ำ
และแร่ธาตุ ระบบยอดประกอบด้วยลำต้นและใบ ลำต้นเป็นโครงร่างที่ให้ใบยึดเกาะ
ใบเป็นแหล่งอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง



ภาพที่ 1-17 แสดงการจัดระเบียบของต้นพืชประกอบด้วยระบบรากและ
ระบบยอดซึ่งติดต่อกันด้วยเนื้อเยื่อลำเลียง (Progressive Gardens, 2005)
ที่มา : http://www.progressivegardens.com/knowledge_tree/plantoverall.jpg


                               ในพืชมีท่อลำเลียง เนื้อเยื่อจัดระเบียบกันเป็นระบบเนื้อเยื่อ (Tissue system)
ซึ่งประกอบด้วยระบบเนื้อเยื่อ 3 ชนิดคือ





1. ระบบเนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเชิงเดี่ยว
(Simple tissue , เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียว) 3 ชนิดคือ เนื้อเยื่อพาเรงคิมา
เซลล์คอลเลงคิมา และเซลล์สเกลอเรงคิมา ซึ่งประกอบด้วย เซลล์พาเรงคิมา และเซลล์
สเกลอเรงคิมาตามลำดับ ส่วนใหญ่ของต้นพืชประกอบด้วยเนื้อเยื่อระบบนี้ ทำหน้าที่
หลายอย่างรวมทั้งสังเคราะห์ด้วยแสง เก็บสะสมอาหารและให้ความแข็งแรงแก่ต้นพืช

2. ระบบเนื้อเยื่อลำเลียง (Vasscular tissue system) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อ
เชิงซ้อน (Complex tissue , เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด) มี 2 ชนิดคือ
เนื้อเยื่อไซเลมและเนื้อเยื่อโฟลเอ็มที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และแร่ธาตุกับลำเลียง
สารอาหารซึ่งการลำเลียงจะติดต่อกันทั่วต้นพืช

3. ระบบเนื้อเยื่อผิว (Dermal tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่
ปกคลุมต้นพืช ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเชิงซ้อน 2 ชนิด คือ เอพิเดอร์มิส และเพริเดิร์ม (Periderm)
เนื้อเยื่อ เพริเดิร์มจะไปแทนที่ เอพิเดอร์มิส และเป็นเปลือกไม้ (Bark) ชั้นนอกของราก
และลำต้นที่แก่แล้ว





ภาพที่ 1-18 แสดงระบบเนื้อเยื่อพื้น ระบบเนื้อเยื่อลำเลียงและระบบเนื้อเยื่อผิว
ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ทั้งใบ ลำต้น และราก
(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2548, หน้า 50)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น