หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่แสดงสมบัติของชีวิตได้คือ เซลล์ (Cell)
เซลล์ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือน ๆ กัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกันคือเนื้อเยื่อ (Tissue) เนื้อเยื่อ
หลาย ๆ ชนิดร่วมกันทำงานทำให้เกิด อวัยวะ (Organ) อวัยวะหลาย ๆ อย่างร่วมกัน
ทำงานเกิดเป็นระบบอวัยวะ (Organ system) นั่นหมายถึงสัตว์เป็นส่วนใหญ่แต่สำหรับ
พืชมีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ออกไปตั้งแต่ระดับเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นผนังเซลล์
แวคิวโอล คลอโรพลาสต์ ซึ่งไม่พบในสัตว์ ส่วนในระดับเนื้อเยื่อของพืชยิ่งมีความ
แตกต่างจากเนื้อเยื่อของสัตว์ออกไปอีก
ภาพที่ 1-1 แสดงองค์ประกอบพื้นฐานภายในของเซลล์พืช (Hiroshima University,
2003-2004)
ที่มา : http://home.hiroshima-u.ac.jp/er/ES_P.html
เนื้อเยื่อของพืชดอก
เนื้อเยื่อของพืชชั้นสูง (Plant tissue) หรือเนื้อเยื่อของพืชดอก แบ่งตาม
ความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue หรือ Meristem)
(คำว่า Meristem มาจากภาษากรีก Meristos แปลว่า แบ่งได้) เนื้อเยื่อเจริญ
หมายถึงเนื้อเยื่อที่มีเซลล์กำลังแบ่งตัวแบบไมโทซิส (Mitosis) เพื่อสร้างเซลล์ใหม่พบ
มากตามบริเวณปลายยอดหรือปลายราก ลักษณะเด่นของเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญ
คือ เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ มีโพรโทพลาซึมที่ข้นมาก ผนังเซลล์ (Cell wall) บางและมักเป็น
สารประกอบเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ ภายในเซลล์ เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและมีขนาด
ใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับไซโทพลาซึม มีแวคิวโอล ขนาดเล็กหรือเกือบไม่มี
แวคิวโอล เซลล์มีรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม หรือมี
ลักษณะหลายเหลี่ยม ทุกเซลล์แบ่งตัวได้ แต่ละเซลล์อยู่ชิดติดกันมากทำให้ช่องว่าง
ระหว่างเซลล์ (Intercellular space) แทบจะไม่มี หรือไม่มีเลย เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญ
ยังมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ
การเจริญเติบโตที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี 2 แบบ คือ การเจริญเติบโตขั้นแรก
(Primary growth) และการเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary growth) การเจริญเติบโต
ขั้นแรกจะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืช
มีความกว้างเพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย หรือเอพิคอลเมอริสเต็ม เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณ
ปลายยอดหรือปลายราก รวมทั้งที่ตา (Bud) ของลำต้นของพืชเมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้
ปลายยอดหรือปลายรากยืดยาวออกไป
ภาพที่ 1-2 แสดงเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอดตัดตามยาว
(University of Illinois, 2006)
ที่มา : http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/lectf03am/meristem.jpg
ภาพที่ 1-3 แสดงเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก (Arizona State University, 2006)
ที่มา : http://trc.ucdavis.edu/biosci10v/bis10v/week8/07roots.html
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem)
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้อง (Internode) หรือ
เหนือข้อ (Node) ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หญ้า
ข้าว ข้าวโพด ไผ่ อ้อย เป็นต้น
ภาพที่ 1-4 แสดงข้อ (Nodes) และปล้อง (Internodes) ของต้นไผ่
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem)
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของรากหรือลำต้น
ทำการแบ่งตัวทำให้เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างทำให้เกิด
การเจริญขั้นที่สอง พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่ว ๆไป และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น
จันทน์ผา หมากผู้หมากเมีย เป็นต้น เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
แคมเบียม (Cambium) ถ้าเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในกลุ่มของท่อลำเลียง เรียกว่า
วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) หากเนื้อเยื่อเจริญนั้นอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อ
ชั้นนอก ของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า คอร์กแคมเบียม (Cork cambium)
ภาพที่ 1-5 แสดงเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (The American Phytopathological Society,
1994-2007)
ที่มา : http://www.apsnet.org/Education/IllustratedGlossary/PhotosN-R/
phellogen.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น