วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน

              เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue) เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดอยู่
รวมกันและทำงานร่วมกันเป็น เนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular tissue) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
ดังนี้

ไซเลม (Xylem)
ไซเลม ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช
ซึ่งเรียกว่า คอนดักชัน (Conduction) ไซเลมประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ

1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เป็นเซลล์ชนิดเดียวกับที่อยู่ในชั้น
คอร์เทกซ์และพิธ (Pith คือชั้นที่อยู่ใจกลางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว) เป็นเซลล์ที่อ่อนนุ่ม
ผนังบาง อมน้ำได้ดี ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง เซลล์พาเรงคิมานี้เรียกว่า
ไซเลมพาเรงคิมา (Xylem parenchyma)



ภาพที่ 1-12 แสดงไซเลม ชนิดพาเรงคิมา (Nature Publishing Group, 2006)
ที่มา : http://www.nature.com/nrm/journal/v5/n5/images/nrm1364-f1.jpg


2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเซลล์รูปร่างยาวปลายเรียว มีผนังเซลล์หนามี
ความยาวเหนียวและแข็งแรง แทรกอยู่ในไซเลม


ภาพที่ 1-13 แสดงไซเลม ชนิดไฟเบอร์ (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2548)
ที่มา : http://student.nu.ac.th/cherrycoke/lesson6.htm


3) เทรคีด (Tracheid) เป็นเซลล์ยาวผนังหนามีลิกนินสะสมอยู่มาก
ที่ผนังเซลล์ ส่วนใหญ่มักมีส่วนบาง ๆ เป็นระยะ เรียกว่า เซลล์มีรู (Pit) ซึ่งไม่มีลิกนิน
สะสม เซลล์มีรูเป็นบริเวณที่น้ำผ่านจากเทรคีดของเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ปลายสุด
ของเซลล์มักแหลม เซลล์เมื่อโตเต็มที่แล้วมักจะตายโพรโทพลาซึมสลายไปทำให้เกิด
เป็นช่อง (Lumen) ตรงกลาง เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกหรือเป็นสี่เหลี่ยม พบมาก
ในพวกเฟิร์นและจิมโนสเปิร์ม ในพืชดอกมีจำนวนน้อยกว่ามาก และไม่พบในพวกมอส
เทรคีดมีหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และยังสามารถส่งออกไปทางด้านข้าง
โดยผ่านเซลล์มีรู การลำเลียง จะเกิดได้ดีต่อเมื่อเซลล์ตายแล้ว เนื่องจากเทรคีด มีความ
แข็งแรงจึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับส่วนของพืชที่มีเซลล์ชนิดนี้อยู่


ภาพที่ 1-14 แสดงไซเลม ชนิด เทรคีด (Armstrong, W. P., 2006)
ที่มา : http://waynesword.palomar.edu/trjun

5) เวสเซล อีลีเมนต์ (Vessel element) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้าย
เทรคีด คือ เมื่อเซลล์โตเต็มที่แล้วจะตายไป โพรโทพลาซึมตรงกลางจะสลายไป
กลายเป็นช่อง (Lumen) ใหญ่ เซลล์มีผนังหนา เพราะมีลิกนินสะสมเช่นเดียวกับเทรคีด
และเซลล์มีรูเช่นเดียวกับเทรคีด เซลล์มีขนาดใหญ่แต่สั้นกว่าเทรคีด ปลายทั้งสองของ
เซลล์ตัดเฉียงและมีรูพรุน (Perforation) เวสเซล อีลีเมนต์จะมาเรียงซ้อนกันโดยต่อกัน
เป็นท่อเรียกว่า เวสเซล (Vessel) ที่มีผนังด้านข้างหนาและแข็งแรงมาก เพื่อทำหน้าที่
ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เช่นเดียวกับเทรคีด

ภาพที่ 1-15 แสดง ไซเลม ชนิดเวสเซลอีลีเมนต์ (Armstrong, W.P., 2006)
ที่มา : http://waynesword.palomar.edu/trjune99.htm

โฟลเอ็ม (Phloem)
โฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารหรืออินทรีย์สารจากใบไปยังส่วนต่าง ๆ
ของพืช การลำเลียงน้ำทางโฟลเอ็มเรียกว่า ทรานสโลเคชัน (Translocation)
โฟลเอ็มประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ
1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) มีอยู่ในกลุ่มของโฟลเอม
เช่นเดียวกับไซเลม

2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเส้นใยช่วยทำให้โฟลเอ็มแข็งแรง

3) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sieve tube member) เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิต
รูปร่างยาวทรงกระบอก ด้านสุดปลายทั้งสองของเซลล์มีลักษณะตัดเฉียงบริเวณนี้มี
แผ่นที่มีรูพรุนอยู่ด้วยเรียกว่า ซีฟเพลต (Sieve plate) ในตอนที่เกิดใหม่ซีฟทิวบ์มี
นิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนิวเคลียสและออร์แกเนลล์อื่น ๆ สลายไป แต่เซลล์
ยังมีชีวิตอยู่
(ท่อของไซเลม คือ เทรคีดและเวสเซล ขณะที่ทำหน้าที่ลำเลียง เป็นเซลล์
ที่ตายแล้วแต่ท่อของโฟลเอ็มคือ ซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะไม่มีนิวเคลียส
แล้วก็ตาม)
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นท่อยาว เรียกว่า ซีฟทิวบ์
(Sieve tube) ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหาร

4) คอมพาเนียนเซลล์ (Companion cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็กอยู่ติดกับ
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ความจริงทั้งซีฟทิวบ์เมมเบอร์และคอมพาเนียนเซลล์นั้นเกิดมาจาก
เซลล์ เดียวกัน เมื่อแบ่งเซลล์ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ เซลล์หนึ่งจะเปลี่ยนเป็น
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ อีกเซลล์หนึ่งเป็นคอมพาเนียนเซลล์ ซีฟทิวบ์เมมเบอร์อาจมี
คอมพาเนียนเซลล์เพียง 1 หรือมากกว่า 1 ก็ได้อยู่ข้าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือ
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ซึ่งไม่มีนิวเคลียสแล้ว เช่น ช่วยขนส่งน้ำตาลเข้ามาในซีฟทิวบ์เมมเบอร์
เพื่อส่งไปยังส่วนต่างๆ ของพืช และช่วยสร้างเอ็นไซม์ หรือสารอื่นให้กับ
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์


ภาพที่ 1-16 แสดงโฟลเอ็ม
(SparkNotes LLC, Plant Classification, Tracheophytes, 2006)
ที่มา : http://www.sparknotes.com/biology/plants/plantclassification/section2.rhtml







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น