วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เนื้อเยื่อป้องกัน

เนื้อเยื่อป้องกัน (Protective tissue) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1) เอพิเดอร์มิส (Epidermis) คือเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกสุดของ
ส่วนต่าง ๆ ของพืช มักเรียงตัวชั้นเดียว ผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์มี
ลักษณะแบน มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ เซลล์เรียงตัวอัดแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์
ผนังเซลล์ที่อยู่ด้านนอกมักหนากว่าผนังเซลล์ที่อยู่ด้านใน มี คิวทิน (Cutin) เคลือบ
ผนังเซลล์มีการเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก (Root hair) เซลล์คุม (Guard cell)
ขน (Trichome) และ ต่อม (Gland) เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกัน
อันตรายให้แก่พืช


ภาพที่ 1-6 แสดงเนื้อเยื่อป้องกัน เอพิเดอร์มิส (University of Illinois, 2006)
ที่มา : http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/lectf03am/lect18.htm





2) คอร์ก (Cork) หรือ เฟลเลม (Phellem) เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดจาก
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของ คอร์ก แคมเบียม หรือ เฟลโลเจน (Phellogen) โดยเมื่อ
คอร์ก เติบโตเต็มที่แล้วโพรโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์จะสลายไป เหลือเฉพาะ
ผนังเซลล์ที่มี ซูเบอริน (Suberin) และ คิวติน (Cutin) สะสมซึ่งน้ำจะผ่านไม่ได้


ภาพที่ 1-7 แสดง คอร์ก (University of Hamburg, 2006)
ที่มา : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/webb/
BOT410/410Labs/LabsHTML-99/Stems-2/Image315.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น